Page 9 - ประมวลภาพเก่า งานศิลป์ และข้าวของจังหวัดระนอง
P. 9

พื้นภูมิเมืองระนอง







                                                       ระนองเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ บนชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งอยู่บน
                                               ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพ
                                                                                   ้
                                               เมียนมาทางด้านทิศตะวันตก โดยมีแม่นำากระบุรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ คำาว่า
                                               “ระนอง” เพี้ยนมาจากคำาว่า “แร่นอง” เนื่องจากในพื้นที่มีแร่ดีบุกอยู่เป็นจำานวนมาก
                                               ระนองจึงเป็นเมืองที่มีความสำาคัญทางเศรษฐกิจมาแต่ครั้งอดีต เมืองระนองปรากฏ
                                               หลักฐานการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานทางโบราณคดี

                                               กระจายอยู่ในเขตพื้นที่อำาเภอเมือง อำาเภอกะเปอร์ อำาเภอกระบุรี และอำาเภอละอุ่น
                                               เช่น แหล่งโบราณคดีเขาพระขยางค์ ตำาบลลำาเลียง อำาเภอกระบุรี แหล่งโบราณคดี

                                               กะเปอร์ ตำาบลกะเปอร์ อำาเภอกะเปอร์ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ตำาบลกำาพวน
                                               อำาเภอสุขสำาราญ จากหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ที่พบ ทำาให้กล่าวได้ว่าชุมชน
                                               บริเวณนี้มีการติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ที่เดินทางเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า

                                               พื้นเมืองในแถบนี้ เช่น เครื่องเทศ ของป่า และอาจรวมถึงดีบุก ซึ่งมีอยู่เป็นจำานวน
                                               มากด้วย

                                                       สืบเนื่องถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองระนองมีฐานะเป็นเมืองเล็กๆ ขึ้นกับ

                                               เมืองชุมพร ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี นอกจากเมืองระนองแล้ว ยังมีเมืองปะทิว เมืองท่า
                                               แซะ เมืองตะโก เมืองหลังสวน เมืองตระ (อำาเภอกระบุรี) และเมืองมลิวัน (ปัจจุบันอยู่
                                               ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา) ครั้นถึงสมัยธนบุรี สันนิษฐานว่าเมืองระนองยัง

                                               คงฐานะเป็นหัวเมืองเล็กๆ ขึ้นตรงต่อเมืองชุมพรเรื่อยมา ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์
                                               ตอนต้น ปรากฏชื่อเมืองระนองในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑
                                               และรัชกาลที่ ๒ ว่าเป็นเมืองหนึ่งที่พม่ายกทัพผ่านเข้ามาเพื่อไปตีเมืองชุมพรเท่านั้น

                                               อย่างไรก็ตาม ในอดีตเมืองระนองจัดว่าเป็น “เมืองสุดหล้าฟ้าเขียว” เนื่องจากสภาพ
                                               ภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อนและป่าดงพงไพร การเดินทางติดต่อกันไป

                                               มาระหว่างเมืองยากลำาบาก

                                                       เมืองระนองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ คือ แร่ดีบุก หรือที่เรียก
                                               กันในสมัยโบราณว่า “ตะกั่วดำา” จึงทำาให้มีผู้คนอพยพเข้ามาหาเลี้ยงชีพด้วยการ
                                               ขุดแร่ดีบุกขายมาแต่โบราณ และส่งดีบุกเป็นส่วยแทนการเข้าเวร ด้วยเมืองระนอง

                                               ทวีความสำาคัญในฐานะ “เมืองแร่ดีบุก” และมีความสำาคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
                                               มากขึ้นโดยลำาดับ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรด
                                               เกล้าฯ ให้มีเจ้าภาษีนายอากรทำาหน้าที่ผูกขาดอากรดีบุกเพื่อส่งให้แก่กรุงเทพฯ โดย

                                               มีอำานาจในการซื้อและเก็บส่วยดีบุกในแขวงเมืองตระเรื่อยมาจนถึงเมืองระนอง
                                               ในการนี้ ราษฎรได้ยกย่องให้นายนอง หัวหน้าหมู่บ้าน เป็นผู้ดำาเนินการ ต่อมานายนอง



                                                                                                สมุดภาพเมืองระนอง   7
                                                                                                                  Ÿ





          ranong hirest.indd   7                                                                                   2/20/2562 BE   12:55
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14