Page 7 - ตำรา โรค หู คอ จมูก พ.ศ. ๒๔๗๒ | Textbook of Ear, Throat and Nose 1929
P. 7

คำนำ                                                               7




               (Laryngology and Rhinology) : เรียบเรียงจากตำราของ Sir St Clair Thom-
               son ศาสตราจารย์ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ผู้บุกเบิกโรคกล่องเสียง คอและจมูก

                     “ตำรา โรค หู คอ จมูก พ.ศ. 2472” จึงเป็นหนังสือทรงคุณค่าทาง
               ประวัติศาสตร์สำหรับวงการแพทย์ไทย เพราะเป็นตำราภาษาไทยสำหรับแพทย     ์
               เฉพาะทางฉบับแรกของประเทศ ซึ่งแปลจากตำรายุโรป เนื่องจากในเวลานั้นยังไม่ม ี

               หน่วยงานใดทำหน้าที่แปลคำศัพท์ทางการแพทย์เฉพาะทางภาษาอังกฤษให้เป็น
                                              ี
                                                                ์
               ศัพท์ภาษาไทย ผู้นิพนธ์คือ นายพันตร หลวงโกศลเวชชศาสตร (เกี๋ยว ชนเห็นชอบ) จึง
               ต้องบัญญัติศัพท์แปลเป็นภาษาไทยต่างๆ ด้วยตนเองและสามารถสื่อสารให้แพทย์ไทย
               สามารถทำเข้าใจได้ด้วย เช่น การทรงตัว (Equilibrium) การกะตุกตาเฉ (Nystagmus)
               กระดูกช่องหูบวม (Osteoma) โรคแก่ถ้ำกลางอักเสบมีน้ำ (Otitis media serosa) ทราง

               (Adenoid) เนื้องอก (Tumours) เนื้องอกแข็ง (Fibroma) เนื้อร้ายในช่องคอ (Malignant
               growth) กะดูกกะบอกเสียง (Larynx) เป็นต้น ศัพท์เหล่านี้ถือเป็นวิวัฒนาการยุคแรก
               ของศัพท์แพทย์เฉพาะทางที่แปลเป็นภาษาไทย เป็นความยากและท้าทายที่นายพันตร ี

               หลวงโกศลเวชชศาสตร (เกี๋ยว ชนเห็นชอบ) เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกการเผยแพร่ความรู้ของ
                                 ์
               แพทย์เฉพาะทางเป็นคนแรก ต้องใช้ความพยายามอุตสาหะเป็นอย่างมาก
                     แม้ว่าความรู้ต่างๆ ในหนังสือ “ตำรา โรค หู คอ จมูก พ.ศ. 2472” จะพ้นสมัย

               ไปทั้งหมดแล้วก็ตาม การอ่านพิจารณาศึกษาตำราเล่มนี้ก็ยังเป็นประโยชน์ในเชิง
               ประวัติศาสตร์ เป็นแบบอย่างความมานะพยายามของบรรพบุรุษแพทย์ หู คอ จมูก
               ไทยในอดีต ความล้ำสมัยในยุคนั้น และเป็นความภาคภูมิใจของแพทย์เฉพาะทาง หู

               คอ จมูก ไทย ทั้งยังเป็นเครื่องเตือนใจให้พัฒนาก้าวหน้าตลอดเวลา เพราะขอบเขต
               ของวิชาแพทย์โรคหู คอ จมูก กำเนิดจากองค์ความรู้ที่แตกต่างกันและผสมผสานกัน
               ภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นแบบโดดเดี่ยว วิวัฒนาการส่วนแรกใช้เวลานานราว 50 ปี มีจุด
               กำเนิดจากวิชา โรคหู โรคคอ และโรคจมูก ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงผสมผสานรวม
               กันเป็นศาสตร์ใหม่ คือ วิชา โรค หู คอ จมูก ต่อมาอีกราว 50 – 60 ปี ก็เพิ่มวิชา

               ศัลยกรรมศีรษะและคอ และวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า และยัง
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12